วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551

ประวิติวัดคลองตาล 2

๔. วิทยฐานะ
(๑) พ.ศ. ๒๕๑๖ สำเร็จวิชาสามัญชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดคลองตาลศรีรัตนประชานุกูล ตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
(๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดคลองตาล ตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
(๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ สำเร็จวิชาสามัญชั้น ม.๓ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
(๔) พ.ศ. ๒๕๔๖ สำเร็จวิชาสามัญชั้น ม.๖ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
(๕) ความชำนาญ ทางด้านการก่อสร้าง เทศนา และบรรยายธรรม
๕. งานปกครอง
(๑) พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดคลองตาล
พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดคลองตาล
พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะตำบลมะต้อง
พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นเจ้าคณะตำบลมะต้อง
พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นเจ้าคณะตำบลหนองแขม
( ปรับปรุงเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอพรหมพิรามใหม่ )
(๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มีพระภิกษุ ๙ รูป สามเณร ๑ รูป
ศิษย์วัด - คน อารามิกชน - คน
พ.ศ. ๒๕๔๖ มีพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร - รูป
ศิษย์วัด - คน อารามิกชน - คน
พ.ศ. ๒๕๔๗ มีพระภิกษุ ๗ รูป สามเณร - รูป
ศิษย์วัด - คน อารามิกชน - คน
(๓) มีการทำวัตรสวดมนต์ เช้า – เย็น มีตลอดทั้งปี ทั้งในและนอกพรรษาทุก ๆ วัน มี การทำวัตรเช้า เวลา ๐๕.๐๐ น. และทำวัตรเย็น เวลา ๑๘.๐๐ น. ทุกวัน
(๔) มีการทำอุโบสถสังฆกรรม ( สวดปาฏิโมกข์ ) มีทุกกึ่งเดือน
เฉพาะในพรรษา
(๕) มีระเบียบการปกครองวัด คือ ได้ปกครองวัด และสั่งการให้เจ้า
อาวาสวัดทุกวัดได้ดำเนินการปกครองวัดให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย กฎระเบียบมหาเถรสมาคม คำสั่งมหาเถรสมาคม ปกครองวัดตามอาณัติสงฆ์หนเหนือ ปกครองวัดตามอาณัติสงฆ์จังหวัดพิษณุโลก ปกครอง วัดตามระเบียบการปกครองวัดของคณะสงฆ์อำเภอพรหมพิราม และได้ปฏิบัติตามกฎหมาย และธรรมเนียมของทางราชการ
(๖) มีกติกาของวัด ดังนี้ พระภิกษุสามเณรที่มาสังกัดจำพรรษาที่วัดคลองตาลทุกรูปจะต้องศึกษา และเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม พร้อมกับสั่งการให้วัดทุกวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนองแขมได้ทำการสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร วัดใดมิได้เปิดทำการเรียนการสอนได้สั่งการให้เจ้าอาวาสสอนและอบรมพระธรรมวินัย ให้แก่พระภิกษุสามเณรหลังจากการทำวัตรสวดมนต์ เช้า – เย็น และให้จัดส่งพระภิกษุสามเณรในวัดไปศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนที่อยู่ใกล้แบบเช้าไปเย็นกลับ
(๗) มีอธิกรณ์ในวัด ในระยะ ๓ ปี ที่ผ่านมา ไม่มี อธิกรณ์เกิดขึ้น
ในวัดคลองตาล และในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนองแขม
๖. งานการศึกษา
(๑) พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้เข้ารับการอบรมวิปัสสนากัมมัฎฐานจากสถาบันพุทธภาวนาวิชาธรรมกาย
พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้เข้ารับการอบรมถวายความรู้โครงการประชุมพระสังฆาธิการเพื่อพัฒนาชุมชน
พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้เข้ารับการอบรมประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้า
อาวาส ครั้งที่ ๓ ณ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน เป็นกรรมการในการจัดอบรมบาลีก่อนสอบสนามหลวง ประโยค ๑ - ๒ และ ป.ธ. ๓ - ๕ ได้อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔ เป็นประจำทุกปี
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้เข้ารับการอบรมการฝึกหัดครูสอนปริยัติธรรม แผนกธรรม รุ่นที่ ๕ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นครูสอนปริยัติธรรมประจำสำนักเรียนวัดคลองตาล ตำบลหนองแขม
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้เข้ารับการอบรมพระนักเผยแพร่พระพุทธศาสนา รุ่นที่ ๒๓ ณ วัดคีรีวงศ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับอาราธนาจากเจ้าคณะอำเภอพรหมพิรามให้เป็นคณะกรรมการคุมห้องสอบธรรมสนามหลวง สนามสอบอำเภอพรหมพิราม เป็นประจำทุกปี
พ.ศ. ๒๕๓๗ สมเด็จพระสังฆราชทรงพระพระบรมราชานุมัติให้ทรงแต่งตั้งกรรมการสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๓๘ สำเร็จการอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมพระธรรมทูต รุ่นที่ ๑๗ ณ โรงเรียนฝึกอบรมพระธรรมทูต วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ ฯ
พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้ผ่านการถวายความรู้ตามโครงการถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการ ณ สถาบันราชภัฎ จังหวัดพิษณุโลก
พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นครูสอนธรรมศึกษาชั้นตรี แก่เด็กนักเรียน โรงเรียนวัดคลองตาล ตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลกพ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการศาสนา อำเภอพรหมพิราม


(๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มีนักเรียนแผนกธรรม ดังนี้
น.ธ.ตรี จำนวน ๒ รูป สมัครสอบ ๒ รูป
สอบได้ ๒ รูป สอบตก - รูป
พ.ศ. ๒๕๔๖ มีนักเรียนแผนกธรรม ดังนี้
น.ธ.โท จำนวน ๒ รูป สมัครสอบ ๒ รูป
สอบได้ ๒ รูป สอบตก - รูป
พ.ศ. ๒๕๔๗ มีนักเรียนแผนกธรรม ดังนี้
น.ธ.ตรี จำนวน ๔ รูป สมัครสอบ ๔ รูป
สอบได้ ๑ รูป สอบตก ๓ รูป
น.ธ.เอก จำนวน ๒ รูป สมัครสอบ ๒ รูป
สอบได้ - รูป สอบตก ๒ รูป
( สำนักเรียนวัดคลองตาล ไม่ได้เปิดทำการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี )
(๓) มีวิธีส่งเสริมการศึกษา ดังนี้
๑. มอบทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรที่เรียนดีสนใจในการศึกษาและทำการสอบธรรมสนามหลวงได้เป็นประจำทุกปี ๆ ละ ๑๐ ทุน ๆ ละ ๑,๐๐๐ บาท ( หนึ่งพันบาท )
๒. มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดี แต่ยากจน จำนวน ๓๐ ทุน ๆ ละ ๖๐๐ บาท ( หกร้อยบาท )
๓. ได้จัดถวายค่านิตยภัตครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักเรียนวัดคลองตาล ปีละ ๖,๐๐๐ บาท ( หกพันบาท )

๗. งานศึกษาสงเคราะห์
(๑) งานมอบทุนการศึกษา
๑. พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๗ ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่พระภิกษุ – สามเณร ภายในวัดคลองตาล ที่สนใจในการศึกษาพระปริยัติธรรมและทำการสอบสนามหลวงได้ จำนวน ปีละ ๒ ทุน ๆ ละ ๑,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท ( สองพันบาท ) จำนวน ๓ ปี รวมเป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท ( หกพันบาท )
๒. พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๗ ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่พระภิกษุ – สามเณรภายในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนองแขม ที่สนใจในการศึกษาพระปริยัติธรรมและทำการสอบสนามหลวงได้ จำนวน ปีละ ๑๐ ทุน ๆ ละ ๑,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ( หนึ่งหมื่นบาท ) จำนวน ๓ ปี รวมเป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท ( สามหมื่นบาท )
๓. พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๗ ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่เรียนดี แต่ทางบ้านยากจน ในโรงเรียนวัดคลองตาล จำนวน ปีละ ๓๐ ทุน ๆ ละ ๖๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๘,๐๐๐ บาท ( หนึ่งหมื่นแปดพันบาท ) จำนวน ๓ ปี รวมเป็นเงิน ๕๔,๐๐๐ บาท ( ห้าหมื่นสี่พันบาท )
๔. พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๗ ได้จัดถวายนิตยภัตแก่ครูสอนพระปริยัติธรรมใน
วัดคลองตาลจำนวน ๑ รูป ปีละ ๖,๐๐๐ บาท ( หกพันบาท ) จำนวน ๓ ปี รวมเป็นเงิน ๑๘,๐๐๐ บาท ( หนึ่งหมื่นแปดพันบาท )
รวมเงินงานศึกษาสงเคราะห์ทุกรายการเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑๐๘,๐๐๐ บาท
( หนึ่งแสนแปดพันบาท )
๘. งานเผยแผ่
(๑) พ.ศ. ๒๕๓๒ จนถึงปัจจุบัน เป็นผู้อบรมศีลธรรม จริยธรรมประจำ
โรงเรียนวัดคลองตาล
พ.ศ. ๒๕๓๓ จนถึงปัจจุบัน ได้เป็นองค์แสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวัดคลองตาล
พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน ได้จัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
ประจำวัดคลองตาล
พ.ศ. ๒๕๓๗ จนถึงปัจจุบัน ได้จัดอุปสมบทหมู่ ณ วัดคลองตาล
พ.ศ. ๒๕๓๘ จนถึงปัจจุบัน ได้จัดการเรียนการสอนธรรมศึกษา
ประจำโรงเรียนวัดคลองตาล
พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระธรรมฑูตประจำหน่วยปฏิบัติการพระธรรมฑูต อำเภอพรหมพิราม ฯ
(๒) มีการทำพิธีวันมาฆบูชา มีเป็นประจำทุก ๆ ปี มีผู้มาร่วมทำพิธี
พระภิกษุ - สามเณร ๙ รูป ประชาชน ๒๐๐ คน โดยจัดให้มีการทำบุญตักบาตรรักษาศีลฟังพระธรรมเทศนาใน ตอนเช้า มีการร่วมกันพัฒนาวัด พัฒนาถนนหนทางในตอนบ่าย มีพิธีเวียนเทียน ในตอนเย็นนำประชาชน ปฎิบัติธรรม เป็นประจำทุก ๆ ปี
(๓) มีการทำพิธีวันวิสาขบูชา มีเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยมีวิธีปฎิบัติ
เช่นเดียวกับวันมาฆบูชา มีผู้ร่วมทำพิธี พระภิกษุ - สามเณร ๙ รูป ประชาชน ๒๕๐ คน
(๔) มีการทำพิธีวันอัฎฐมีบูชา ไม่มี
(๕) มีการทำพิธีวันอาสาฬหบูชา มีเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยมีวิธีปฎิบัติ
เช่นเดียวกับวันมาฆบูชา มีร่วมประชุมทำพิธี พระภิกษุ - สามเณร ๙ รูป ประชาชน ๒๕๐ คน
(๖) มีการอบรมพระภิกษุ - สามเณร ดังนี้ ได้ทำการอบรมพระนวก
ภูมิและพระภิกษุ – สามเณร ภายในวัดทั้งหมด ได้ทำการอบรมเกี่ยวกับพระธรรมวินัย พุทธประวัติ เสขิยะวัตร และอบรมให้ประพฤติปฎิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ให้สมกับเป็นสมณวิสัย ให้สมกับเป็นที่กราบไหว้ของญาติโยม ให้สมกับที่เป็นเนื้อนาบุญของญาติโยม อบรมให้ประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบ คำสั่ง ของมหาเถรสมาคม และตามกฎหมายของบ้านเมือง
(๗) มีการอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน และนักเรียนในโรงเรียนหนังสือไทย
ได้อบรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันสำคัญของชาติ วันสำคัญของทางโรงเรียน ที่ทางโรงเรียน วัด และทางราชการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้อบรมให้ประชาชน และเยาวชนของชาติได้มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา และได้ชักชวนพระภิกษุ – สามเณร ประชาชน และนักเรียนได้ร่วมกันปฎิบัติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันสำคัญ ของชาติ และในวันสำคัญอันควรได้อบรมให้ประชาชนยึดหลักสามัคคีธรรม ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน และได้อบรมให้ประชาชนได้ใช้จ่ายกันอย่างประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย
(๘) มีการอบรมศีลธรรมแก่ศิษย์วัด คือ ได้อบรมให้ศิษย์วัดทำวัตรสวดมนต์
เช้า – เย็น อบรมให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักศาสนาพิธีทั้งภาคทฤษฏีและปฎิบัติ และได้อบรมให้ศิษย์วัดได้นำเอาหลักธรรมในทางพุทธศาสนาไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิตประจำวัน
(๙) มีผู้มารักษาศีลฟังธรรมที่วัด มีไม่ตลอดปี มีเฉพาะในพรรษา จำนวน
๒๐ - ๓๐ คน
(๑๐) มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่ คือ ได้จัดหาหนังสือธรรมะแจกจ่ายให้แก่
นักเรียน นักศึกษาและประชาชน ได้ออกปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูตออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา พร้อมกับได้พูดธรรมะบรรยายธรรม ออกทางหอกระจ่ายข่าวของวัด ทุกเช้าของวันธรรมสวนะ (วันพระ) เป็นประจำเสมอมา
(๑๑) มีความร่วมมือกับทางคณะสงฆ์ หรือทางราชการเกี่ยวกับการเผยแผ่ คือ
ได้จัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการจัดสถานที่ และเครื่องขยายเสียงและอื่น ๆ เป็นประจำเสมอมา
(๑๒) มีผู้มาทำบุญที่วัดเป็นประจำ ประมาณ ๒๕๐ คน

๙. งานสาธารณูปการ
(๑) พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นประธานควบคุมในการดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุและปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุของวัดทุกวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลมะต้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน เป็นประธานควบคุมในการดำเนินการ
ก่อสร้างถาวรวัตถุและปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดคลองตาล ตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นประธานควบคุมในการดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุและ
ปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุของวัดทุกวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

(๒) งานก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดคลองตาล
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ดำเนินการก่อสร้างเมรุ ๑ หลัง ลักษณะทรงไทย ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๐.๕๐ เมตร เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูนหลังคามุงกระเบื้องลอนคู่ทาสีเสร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท ( หนึ่งล้านสองแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฎิทรงไทยชั้นเดียว สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๘ เมตร จำนวน ๒ หลัง เสร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๖๕๐,๐๐๐ บาท ( หกแสนห้าหมื่นบาทถ้วน )
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ดำเนินการขุดสระน้ำ เรียงหิน ขนาดกว้าง ๒๗ เมตร ยาว ๓๘ เมตรเทคอนกรีตรอบสระน้ำ ขนาดกว้าง ๑.๕๐ เมตร เสร็จเรียบร้อย ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท ( สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน )
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ดำเนินการสร้างรั้วล้อมสระน้ำ ขนาดกว้าง ๒๗ เมตร ยาว ๓๘ เมตร ติดตาข่ายเหล็กรอบสระน้ำ จำนวน ๘๖ ช่อง เสร็จเรียบร้อย ราคาก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๑๗๒,๐๐๐ บาท ( หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสองพันบาท )
พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้ดำเนินการถมดินภายในบริเวณวัดคลองตาล จำนวน ๒๕๐ รถ ๆ ละ ๔๐๐ บาท เสร็จเรียบร้อย เป็นจำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ( หนึ่งแสนบาทถ้วน )
รวมเงินงานสาธารณูปการ ทุกรายการ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๒,๓๒๗,๐๐๐ บาท
( สองล้านสามแสนสองหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน )
(๓) งานบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดคลองตาล
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ดำเนินการบูรณะอุโบสถ วัดคลองตาล เปลี่ยนช่อฟ้า ใบระกา ทาสีใหม่ เสร็จสมบูรณ์ ราคาค่าบูรณะปฏิสังขรณ์ เป็นจำนวนเงิน ๔๖๐,๐๐๐ บาท ( สี่แสนหกหมื่นบาทถ้วน )
รวมเงินค่าบูรณะปฏิสังขรณ์ทุกรายการ เป็นจำนวนเงิน ๔๖๐,๐๐๐ บาท
( สี่แสนหกหมื่นบาทถ้วน )
รวมเงินงานสาธารณูปการ และ บูรณะปฏิสังขรณ์ ทุกรายการ
เป็นจำนวนเงิน ๒,๘๓๒,๐๐๐ บาท ( สองล้านแปดแสนสามหมื่นสองพันบาทถ้วน )


(๔) มีการพัฒนาวัด ดังนี้
๑) เพื่อให้การพัฒนาวัดมีความสะดวกรวดเร็ว และเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีงาม ได้มอบหมายและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ พระภิกษุ - สามเณร และศิษย์วัด ในหน้าที่ต่าง ๆ เช่น การดูแลสังฆภัณฑ์, ภัตตุเทศก์ เป็นต้น
๒) การรักษาความสะอาดภายในวัด และการดูแลรักษาศาสนสมบัติของวัด ได้ขอความร่วมมือจากพระภิกษุ - สามเณร และศิษย์วัด ได้ช่วยกันทำความสะอาด บริเวณวัด ที่อยู่อาศัย ให้มีความสะอาดอยู่เสมอ การดูแลรักษาศานสมบัติของวัด ได้มอบหมาย
และแบ่งภาระหน้าที่ ให้พระภิกษุ - สามเณร และศิษย์วัด รับผิดชอบดูแลรักษาศาสนสมบัติของวัด
๓) ได้ปลูกต้นไม้ ไม้เนื้อแข็ง ไม้ดอกยืนต้น ไม้ร่มเงา ไม้พุ่ม ไม้กอ ไม้ประดับ และพืชสมุนไพร ภายในที่ดินของวัด ตามคำสั่งมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการปลูกต้นไม้ในที่ดินของวัด หรือที่ธรณีสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ และตามโครงการการปลูกป่าของรัฐบาล

ไม่มีความคิดเห็น: